เนื้องอกร้ายที่ต่อมหมวกไต (Malignant Adrenal tumors)
มะเร็งต่อมหมวกไตเป็นมะเร็งที่พบน้อยและยากที่จะวินิจฉัยเนื่องจากกว่าจะแสดงอาการมักจะลุกลามไปอวัยวะอื่น ๆ ข้างเคียง อุบัติการณ์ 2 ต่อ 1,000,000 พบมากในเด็ก และกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 40-50 ปี
1. Adrenocortical Carcinoma มะเร็งที่ต่อมหมวกไตมีทั้งที่ผลิตฮอร์โมน(50%) และไม่ผลิตฮอร์โมน(50%) ในกลุ่มnon functioning tumor มักมาด้วยอาการที่เกิดจากขนาดของก้อน ( pressure effect ) เช่น ปวดท้องหรือปวดหลัง อาการอื่นๆที่อาจพบร่วมได้เช่น น้ำหนักลดเบื่ออาหารในเด็ก 90% จะมี virilization โดยเด็กชายจะมี precocious puberty มี gynecomastia , gonadal atrophy , loss of libido ส่วนเด็กหญิงจะมี virilization มีขนดกแต่ผมร่วง , ประจำเดือนมาไม่ปกติ
2. Adrenal Metastases มะเร็งในตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกายลุกลามถึงต่อมหมวกไต เป็น 26% - 50% ของมะเร็งต่อมหมวกไต ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดคือ มะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม รองลองมาคือ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งไต มะเร็งรังไข่ มะเร็งไฝ เป็นต้น แต่มักจะไม่มีอาการ ซึ่ง CT จะแสดงให้เห็นว่า ต่อมหมวกไตข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เห็นเงารูปร่างของก้อนเนื้อขรุขระ ความหนาแน่นไม่เท่ากัน กลายเป็นถุงน้ำได้ง่าย มีเลือดออก ซึ่งโรคนี้มักจะพบโดยบังเอิญจากการตรวจ CT ด้วยสาเหตุอื่น หากพบจุดเกิดมะเร็ง ก็จะสามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด
การวินิจฉัยเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต (Diagnosis)
ประกอบด้วย
1. การตรวจเอกซเรย์พิเศษเพื่อดูลักษณะของก้อน การกระจายไปต่อมน้ำเหลือง และการกดเบียดอวัยวะข้างเคียงโดยอาจทำ CT scan , MRI , PET scan ในเด็กที่ความดันโลหิตสูงสงสัยเนื้องอกของเซลล์ประสาท(neuroblatoma)ที่ผลิตฮอร์โมนอาจตรวจด้วย MIBG scan เพื่อให้เห็นต่อมหมวกไตชั้นใน
2. การตรวจระดับของฮอร์โมนต่างๆของต่อมหมวกไต(diagnostic hormonal test) ซึ่งจะใช้วิธีเจาะเลือด หรือเก็บปัสสาวะที่ถ่ายออกมาตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าตรวจพบระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ ไม่ว่าเอกซเรย์จะเป็น adrenoma ธรรมดาก็ผ่าตัดออกไป
การรักษา(Treatment)
ในปัจจุบันพบก้อนเนื้องอกต่อมหมวกไตที่พบโดยบังเอิญ (adrenal incidentaloma) จากการมาตรวจสุขภาพประจำปีมากขึ้น สิ่งสำคัญคือแพทย์ต้องแยกให้ได้ว่าเนื้องอกต่อมหมวกไตที่พบโดยบังเอิญนั้นเป็น benign หรือ malignant tumor เป็น functional tumor หรือไม่ ในปัจจุบันแนะนำให้ผ่าตัดก้อน adrenal incidentaloma ที่มีขนาดมากกว่า 4 เซนติเมตรขึ้นไป เนื่องจากมีโอกาสเป็นมะเร็งประมาณ 10%
หากเป็น functional tumor ที่พบบ่อยได้แก่ primary hyperaldosteronism( Conn’s syndrome), Cushing’s syndrome และ pheochromocytoma เหล่านี้ ควรได้รับการผ่าตัดโดยไม่คำนึงถึงขนาดของก้อนเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต
1. perioperative medical management
2. การผ่าตัด ในปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้อง( laparoscopic adrenalectomy) ได้รับการยอมรับว่าเป็นการผ่าตัดมาตรฐาน(gold standard) โดยมีโอกาสที่ต้องเปลี่ยนมาเปิดผ่าตัดแผลใหญ่น้อยกว่า 5% และให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการผ่าตัดด้วยวิธี open adrrnalectomy ทั้งในแง่ของการมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ลดอัตราการตาย ย่นระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
3. การฉายแสงรังสีรักษามักใช้กับผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายไปที่กระดูก
พญ. กมเลส ประสิทธิ์วรากุล
ศัลยกรรมทั่วไปและเฉพาะทางผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
ก้อนหรือเนื้องอกในตับ(Liver Mass)
Mar 17 , 2016 3 pm
เนื้องอกหรือก้อนในตับ เป็นโรคที่พบได้บ่อยๆ เมื่อตรวจพบเนื้องอกจึงมีความสำคัญที่ต้องวินิจฉัยให้ได้ว่าเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา(Benign Liver Mass) หรือเป็นมะเร็ง(Liver cancer) ส่วนใหญ่เนื้องอกในตับ เบื้องต้นมักจะยังไม่มีอาการผิดปกติ จะตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมีการตรวจสุขภาพ เช่นการตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นต้น
ไทรอยด์ (Thyroid)
Aug 18 , 2015 10 am
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ เมื่อผิดปกติจะโตขึ้น และ เห็นเป็นก้อน บางครั้งก็เห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆ บางครั้ง ก็โตเป็นลักษณะหลายๆ ก้อนติดกัน แต่ที่สำคัญคือ ก้อนที่เกิดบนต่อมไทรอยด์ จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลง เวลาเรากลืนน้ำลาย
โรคไส้เลื่อน (Hernia)
Jan 27 , 2016 1 pm
โรคไส้เลื่อน คือโรคที่ อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรู หรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อ
เนื้องอกต่อมหมวกไต
Mar 24 , 2016 3 pm
ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะขนาดเล็ก 4-6 gm ประมาณ 4x3x1 เซนติเมตร สีเหลืองทอง ต่อมหมวกไตอยู่บริเวณเหนือไตทั้ง 2 ข้าง(ดังรูป) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย ได้แก่ อัลโดสเตอโรน , คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน